เป้าหมายหลัก

1.เข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญ ของการทำงานระบบต่างๆของร่างกาย
2. เข้าใจและตระหนัก ถึงคุณค่าของอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ
3. ตระหนักถึงพิษภัยจากสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหารและสามารถผลิตอาหารบริโภคเองได้ในครัวเรือน
4. ตระหนักถึงคุณค่าของกิจกรรมทางกายและทางใจ เพื่อให้ร่ายกายมีความสุขได้

วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

29 สิงหาคม 2557

อบรมการวัดผลและประเมินผล

         เป็นการเริ่มต้นที่ดี และมีความหมายที่ สพฐ.จัดให้มีการพัฒนาครูทั้งระบบนเรื่องของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนโดย ภาคเหนือได้จัดการอบรมขึ้นที่ จ.เชียงใหม่ ในครั้งนี้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเด็กไทยให้ก้าวไกลทัดเทียมกับนานา ประเทศ โดยในวันนี้ คณะทีมวิทยากรได้กล่าวถึงการศึกษาในศตวรรษที่ 21โดยได้ยกตัวอย่างหลายๆโรงเรียนในประเทศไทย อาทิ โรงเรียนสัตยาสัย  โรงเรียนรุ่งอรุณ และโรงเรียนนอกกะลา อีกทั้งยังกล่าวครูใหญ่ วิเชียร ไชยบัง ของเราอีกด้วย


ในปัจจุบันนั้นความรู้มีอยู่มากมาย หลากหลายแห่งอีกทั้งการเข้าถึงก็ง่าย แต่การที่ให้เด็ฏมีความรู้เพียงอย่างเดียวนั้นจะทำให้การศึกษาไทย ล้มเหลวทั้งประเทศ ควรจะมีการปฏิรูปการจัดการศึกษาทั้งระบบ กล่าวคือ

          การเรียนรู้และทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษ ที่ 21 ( 21 century skills) ประกอบด้วย
1.การจัดการเรียนการสอน  โดยยึดว่าผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญ ควรส่งเสริมห้ผู้เรียนพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
2. จัดสาระการเรียนรู้ โดยเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการให้เหมาะสมกับระดับ กล่าวคือ
     1. รู้เกี่ยวกับตนเอง ความสัมพันธ์กับตนเองและสังคม ได้แก่ ครอบบครัว ชุมชน ชาติ สังคมโลก รวมทั้งประวัติศาสตร ความเป็นมาของสังคมไทย
    2. ความรู้และทักษะ  ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุล ยั่งยืน
     3. ความรู้เกี่ยวกับ  ศาสนา  ศิลปะ วัฒนธรรม  การกีฬา ภูมิปัญญาไทย การประยกต์ใช้ภูมิปัญญา
     4. ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ ภาษา เน้นการช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง
     5. ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
3. การจัดเนื้อหาสาระ  ให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน และความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงภึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
4. ฝึกทักษะ  กระบวนการคิด  การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้ มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา
5. จัดกิจกรรม ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
6. การจัดการเรียนการสอน โดยผสมผสานระหว่างสาระความรู้ต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งคุณธรรมจริยธรรม และคุณลักณะอันพึงประสงค์
7.  จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน อำนวนความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัย เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ ผู้เรียนผู้สอนสามารถเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน
8. จัดการเรียนรู้ ให้เกิดได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีความประสานความร่วมมือกับบิดา มารดาผู้ปกครอง และบุคลากรในชุชม ทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาการเรียน ตามศักยภาพ
9. จัดการประเมินผู้เรียน โดยพิจารณาพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ สังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม และทดสอบควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอน ตามความเหมาะสมของแต่ละรูปแบบการศึกษา
10.  จัดทำสาระ ของหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาชุมชน และสังคมภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียน เป็นสมาชิกที่ดีของชุมชนและสังคม โดยต้องมีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความรับผิดชอบต่อสังคม
11. ร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน หน่วยงานต่างๆ ร่วมกันสรรหาภูมิปัญญาต่างๆเพื่อให้สอดคล้องกับปัญหา และหาวิธีสนับสนุนให้มรการแลกเปลี่ยนการพัฒนาระหว่างชุมชน
12. พัฒนากระบวนการเรียนการสอน  ที่มีประสิทธิภาพ และการดำเนินการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน แต่ละระดับการศึกษา
13. พัฒนาขีดความสามารถ นการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของผู้เรียน เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
14  ปฏิบัติงาน  และประพฤติปฏิบัติตนตามมาตรฐาน และจรรยาบรรณของวิชาชีพครู 






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น