เป้าหมายหลัก

1.เข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญ ของการทำงานระบบต่างๆของร่างกาย
2. เข้าใจและตระหนัก ถึงคุณค่าของอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ
3. ตระหนักถึงพิษภัยจากสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหารและสามารถผลิตอาหารบริโภคเองได้ในครัวเรือน
4. ตระหนักถึงคุณค่าของกิจกรรมทางกายและทางใจ เพื่อให้ร่ายกายมีความสุขได้

Main

ภูมิหลัง
       

        ปัจจุบันนี้  สังคมในยุคโลกาภิวัฒน์ ได้เข้ามาเกี่ยวข้องและมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของเราทุกคน   ซึ่ง ก่อให้เกิด วิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลง   สภาพแวดล้อมไม่ปลอดภัย ขาดการดูแลใส่ใจและควบคุมป้องกัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะ สม ขาดการออกกำลังกาย จนเกิดความเครียด วิถีชีวิตการบริโภคเป็นไปด้วยความเร่งด่วน อาหารสำเร็จรูป อาหารไม่ปลอดภัย ทำให้มีภาวะนำหนักเกินและอ้วน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักสำคัญทำให้เกิด โรคเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของมนุษย์ ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนสามารถวางแผนการใช้ชีวิตทั้งเรื่องการกิน  การใช้ชีวิตและดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับตนเองได้ จึงเป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้






ปฏิทินการเรียนรู้ PBL กินอยู่ ปลอดภัย
Quarter 2/2557 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

สัปดาห์ที่
สาระสำคัญ
(เป้าหมายหลัก)
เนื้อหา/กิจกรรม
ภาระงาน/ชิ้นงาน
สื่อ / แหล่งเรียนรู้
1
-สร้างฉันทะ
และแรงบันดาลใจในการเรียนรู้
Key Question
- นักเรียนเห็นอะไรจากการเยี่ยมชมหมู่บ้าน
- นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่นักเรียนพบเห็น (
show and share)
- ทำไมมนุษย์แต่ละคนมีความสุขแตกต่างกัน
- นักเรียนคิดว่าเพราะเหตุใด แต่ละคนจึงมีความสุขไม่เหมือนกัน
- สิ่งที่นักเรียนเห็น(พืชผัก) สำคัญกับชีวิต มนุษย์ อย่างไร
-อาหารแต่ละประเภท มีผลกับ สุขภาพตัวเราอย่างไร  เราจะเลือกกินอาหาร อย่างไร ให้มีสุขภาพที่ดี
(Round Robin)
- สร้างฉันทะและ สร้างแรงบันดาลใจ ด้วยการปะทะด้วยปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน
- ครูพาเด็กๆ เดินสำรวจ บริเวณโรงเรียน และบริเวณหมู่บ้าน บริเวณสวนผลไม้ แปลงผักต่างๆ เยี่ยมในหมู่บ้าน แล้วสังเกต  สอบถามพูดคุยกับคนในชุมชน เกี่ยวกับเรื่องความสุข ของแต่ละคน คิดอย่างไร  card and chat
- ชักเย่อความคิด ความสุขเกิดจากอะไร ระหว่าง สุขภาพที่ดี และ ฐานะที่ดี
- ดู คลิป วีดีโอ เกี่ยวกับ อันตรายจากสารพิษตกค้างในอาหาร
- ดูสารคดี food inc
- อภิปรายร่วมกัน วิเคราะห์ปัญหา ผลกระทบที่เกิดขึ้นและหาแนวทางแก้ไข
Place matt
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

- สรุปสิ่งที่ได้ดูจากการสำรวจหมู่บ้าน
- Place matt
- วิเคราะห์สารคดี
-
  card and chat
-  สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

- บรรยากาศในหมู่บ้าน
-คลิป วีดีโอ
สารคดี food inc
- บรรยากาศในชั้นเรียน
2
สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
 “จากสิ่งที่เกิดขึ้นและปัญหาที่พบ นักเรียนจะวางแผนการเรียนรู้ในQuarter นี้อย่างไร”
Key Question
- นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรใน Quarter นี้
- ทำไมถึงอยากเรียนเรื่องนี้
- นักเรียนอยากเรียนรู้อะไรบ้างในโครงงาน
กินดี มีสุข
(show and share)
- นักเรียน จะวางแผนการเรียนรู้และทำปฏิทินการเรียนรู้อย่างไร
(show and share)
- นักเรียนจะตกแต่งห้องเราให้น่าสนใจและสื่อถึงโครงงาน
กินดี มีสุข ได้อย่างไร(Brainstorming)
กระบวนการได้มาซึ่งหัวข้อ
- เลือกหัวข้อที่ต้องการเรียนรู้ (Think Pair Share )
- การได้มาซึ่งชื่อโครงงาน (Brain storming)
กระบวนการวางแผนการเรียนรู้
- เขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้
- เขียน Mind mapping ก่อนเรียน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- ทำปฏิทินการเรียนรู้ 10 สัปดาห์
- วาดภาพตกแต่งหน้าห้องเรียน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

- หัวข้อที่จะเรียน
- สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
- Mind mapping ก่อนเรียน
-  ปฏิทินการเรียนรู้ 10 สัปดาห์
ภาพวาดตกแต่งหน้าห้อง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- กระดาษ บรู๊ฟ
- สี/ปากกาเคมี
-บรรยากาศในห้องเรียน

3
- ตัวเรา
- การทำงานของอวัยวะต่างๆ และระบบของร่างกาย
Key Question
- ปัจจัยใดที่ส่งผลต่อการการทำงานที่ดี ของอวัยวะภายใน
(Show & Share)
- จะเกิดอะไรขึ้นถ้าอวัยวะต่างๆ ทำงานบกพร่อง
(Round Rubin)
- จะเกิดอะไรขึ้นถ้าอวัยวะต่างๆ หยุดทำงาน( Place mat )
-จะมีวิธีการดูแล อวัยวะของเรา ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร
- นักเรียนดู หุ่นอวัยวะภายในร่างกาย
- ชมคลิปวีดีโอการทำงานของอวัยวะในร่างกาย
- นักเรียนทำกิจกรรมการวัด ชีพจร อัตราการเต้นของหัวใจ เช่น วิ่ง เดิน นั่ง นอน

- แบ่งนักเรียนออกเป็น กลุ่มศึกษาการทำงานของอวัยวะภายในที่สำคัญของร่างกาย โดยศึกษาทั้งระบบและแต่ละอวัยวะของระบบนั้น (ระบบย่อยอาหาร,ระบบหายใจ,ระบบขับถ่าย,ระบบไหลเวียนเลือด)
- ศึกษาการดูแล รักษาของอวัยวะ ระบบต่างๆ
-  นักเรียนรายงานความคืบหน้าของการทำงานและปัญหาที่พบระหว่างการลงมือปฏิบัติ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มซ้อมนำเสนอข้อมูล
- นักเรียน Show and Share นำเสนอผลงานของตนเองให้ครูและเพื่อนๆ ฟัง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

- ข้อมูลจากการค้นคว้า
- Mind mapping, การ์ตูนช่อง, โมเดล, ชาร์ตความรู้
- การนำเสนอ ลงบนกระดาษ A5  รวบรวมเป็นรูปเล่ม
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

- คลิป / สารคดี
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษบรู๊ฟ

4
-โรคต่างๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร
-พฤติกรรมบริโภคอาหาร ทำให้เกิดโรคอะไรบ้าง
Key Question
- จะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเรา หากรับประทานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
(Round R
ubin)
- พฤติกรรมการกินอาหาร ส่งผลต่อสุขภาพของเราอย่างไรบ้าง
- ทำไม คนถึงป่วยเป็นโรคต่างๆ
- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมของสัปดาห์ที่ผ่านมา
- แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มวิเคราะห์ภาพที่เห็น โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าเป็นโรคอะไร และมีสาเหตุมาจากอะไร?
- ดูคลิปวีดีโอเกี่ยวกับโรคต่างๆเช่น “โรคอ้วน” “โรคเบาหวาน” “ความดันโลหิตสูง” “โรคมะเร็ง
-พานักเรียน ไปศึกษาโรงพยาบาลศูนย์ตำบล สอบถามสถิติเกี่ยวกับการเจ็บป่วย ฟังบรรยายจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข สาเหตุของการเจ็บป่วยของคนในชุมชน คำแนะนำในการรับประทานอาหาร การใช้ชีวิตที่กิจกรรมที่ทำให้ห่างไกลจากโรค
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากกิจกรรมที่ทำ

- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- การตอบคำถาม
- บทความ
- ละคร
- การ์ตูนช่อง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์           
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ห้องสมุด
- อินเตอร์เน็ต
- คลิปวีดีโอเกี่ยวกับโรคต่างๆ
- ภาพโปสเตอร์โรคต่างๆ

5
วางแผนการใช้ชิวิตประจำวัน
- กิจกรรมทางกาย
- กิจกรรมทางใจ
   กิจกรรมทางกาย
-กีฬา
-การละเล่น
-การเคลื่อนไหว
-กิจกรรมนันทนาการ

-ประโยชน์ของการออกกำลังกาย,การละเล่น,การเคลื่อนไหว
กิจกรรมทางใจ
- มองโลกในแง่บวก
  
-จิตสาธารณะ การช่วยเหลือผู้อื่น
-อารมณ์ดี       
Key Question
-กิจกรมที่ทำให้มนุษย์เรามีความสุขมีอะไรบ้าง
- ทำไมมนุษย์เราต้องออกกำลังกาย  ถ้าไม่ออกกำลังกายจะเป็นอย่างไร
-นอกจากออกกำลังกายแล้วมีกิจกรรมอื่นอีกหรือไม่ ยกตัวอย่าง บอกประโยชน์ของการละเล่น
-การทำให้จิตใจ สบายผ่องใส มีประโยชน์อย่างไร  ทำได้โดย
วิธีใดบ้าง
- จะออกแบบ การใช้ชีวิตให้มีความสุขทั้งกายใจได้อย่างไร และบันทึกลงในสมุดบันทึก  “วันนี้คุณมีความสุขหรือยัง?”
- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมของสัปดาห์ที่ผ่านมา
-นักเรียนจะวางแผนการดำรงชีวิต ในแต่ละวันอย่างไร แต่ละช่วงเวลาทำอะไร  รู้สึกอย่างไร  ทำแล้วได้ผลอย่างไร  ให้ออกแบบ และบันทึกลงในสมุดบันทึก
 “วันนี้คุณมีความสุขหรือยัง?”
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- การตอบคำถาม
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์  


6
ความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตมนุษย์สิ่งแวดล้อม
-ความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมในรูปแบบห่วงโซ่อาหาร
-การเพิ่มขึ้นของประชากร
-ปลุกจิตสำนึกให้รักสิ่งแวดล้อม
-ผลกระทบ ภัยจากสิ่งแวดล้อม
Key Question
- นักเรียนเห็นอะไรบ้างจาก การทดลองปลูกผัก
5 สัปดาห์ที่ผ่านมา
- ผักแต่ละที่ต่างกันอย่างไร
- เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
-ได้เรียนรู้อะไรจากการศึกษาแหล่งเรียนรู้ ไร่อัมฤทธิ์
-จะทำอย่างไรให้มีผักที่ ปลอดภัยไว้เป็นอาหาร
- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมของสัปดาห์ที่ผ่านมา
-พานักเรียนสำรวจ ในแปลงที่ปลูกผักๆไว้ สังเกต ความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
- พานักเรียนเยี่ยมชม ไร่อัมฤทธิ์ แหล่งผลิตอาหารปลอดภัยในชุมชน 
 place matt
-นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นว่า สิ่งแวดล้อมกับชีวิต มีความสัมพันธ์กันอย่างไร การเพิ่มขึ้นของประชากรมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือไม่ อย่างไร
- อาหารที่ผลิตขึ้นปัจจุบันปลอดภัยหรือไม่
 - นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น จะผลิตอาหารที่ปลอดภัยได้อย่างไร 
- นักเรียน Show and Share นำเสนอผลงานของตนเองให้ครูและเพื่อนๆ ฟัง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์   

- place matt
-การนำเสนอ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

- คลิป / สารคดี
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษบรู๊ฟ

7
การผลิตผักที่ปลอดภัยเพื่อบริโภค

-พานักเรียนเยี่ยมชม ไร่อัมฤทธ์ เรียนรู้วิธีปลูกผักแบบปลอดสารเคมี
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ ลงมือปลูกเพื่ออาหารปลอดภัย
-การปลูกผัก
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

-ไร่อัมฤทธิ์
- แปลงเกษตร
8
อาหาร
- อาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
- อาหารทำลายสุขภาพ
- การผลิตอาหารที่ปลอดภัยด้วยตัวเอง
Key Question
- อาหารที่นักเรียนชอบรับประทานมีอะไรบ้าง
- อาหารแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันอย่างไร
- จะเลือกอาหารที่ปลอดภัย สำหรับตนเองและผู้อื่นอย่างไร
- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมของสัปดาห์ที่ผ่านมา
-ครูพานักเรียนทดลอง  ใส่ลูกอมเมนทอส ลงไปในโค๊ก สังเกตผลการทดลอง
- เชื่อมโยงเหตุการณ์นี้ หากเกิดขึ้นเมื่อเรา กินสิ่งนี้เข้าไปในร่างกายของเรา จะเกิดอะไรขึ้น
-ครูให้นักเรียนนำของที่ตนเองชอบทานมาจากที่บ้าน คนละ
1 อย่าง ให้นักเรียนชิมแล้วให้นักเรียนแยกแยะว่าอาหารชนิดใด
(ชักเย่อความคิดสิ่งที่นักเรียนเตรียมมา เป็นอาหารมีประโยชน์ หรือทำลายสุขภาพ เพราะอะไร)
- ส่วนประกอบของอาหารที่นักเรียนชอบรับประทานมีอะไรบ้าง จัดเป็นสารอาหารประเภทใด
-ครูกระตุ้นการคิดด้วยการแบ่งกลุ่มให้นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์แยกแยะชนิดของอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และอาหารทำลายสุขภาพ

-ประเภทของสารอาหารแบ่งเป็น กี่หมู่อะไรบ้าง
- แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มศึกษาอาหาร ได้แก่โปรตีน คาร์โบไฮเดรต  ไขมัน แร่ธาตุ  วิตามิน และน้ำ มีความจำเป็นต่อร่างกาย  ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแต่ละชนิดมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- วิเคราะห์แยกแยะประเภทของอาหาร
- สรุปความรู้เกี่ยวกับสารอาหาร
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

- ข่าว / 
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
9
เมนูอาหารเพื่อสุขภาพ
Key Question
- มีวัสดุอะไรบ้างในท้องถิ่นที่นำมาประกอบอาหารได้
- จะประกอบอาหารเพื่อสุขภาพได้อย่างไร  ด้วยเมนูอะไร
- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมของสัปดาห์ที่ผ่านมา
-
แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม คิดเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ
-ให้ ประกอบอาหาร เมนูเพื่อสุขภาพ จำหน่ายให้ ครูและเพื่อนๆในโรงเรียน
- การประกอบอาหาร
-การจำหน่าย
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


10
สรุปโครงงาน
- การตกผลึกสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้มาทั้งหมด
- การตรวจสอบ การประเมินตนเองและผู้อื่น
Key Question
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียนโครงงาน กินดี มีสุข
 และจะนำเสนอผลงานให้ผู้อื่นรู้และเข้าใจได้อย่างไรบ้าง
- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมที่เรียนผ่านมาทั้งหมดในโครงงาน
กินดี มีสุข
-  นักเรียนเขียนสรุปองค์ความรู้เป็น  Mind Mapping หลังเรียน/ นำเสนอ
- นักเรียนและครูร่วมกันประเมินเพื่อสะท้อนผลงาน
-  นักเรียนระดมความคิดเขียน สิ่งที่ทำได้ดี และ สิ่งที่ควรปรับปรุง เกี่ยวกับการเรียนโครงงานเรื่องอาหารปลอดภัย
- นักเรียนแบ่งกลุ่มระดมความคิดเกี่ยวกับกิจกรรมที่จะทำในวันสรุปงานสิ้น Quarter 2  
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- Mind Mapping หลังเรียน
- สิ่งที่ทำได้ดี และ สิ่งที่ควรปรับปรุง
- จัดนิทรรศการในห้องเรียน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

- บรรยากาศในห้องเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น