เป้าหมายหลัก

1.เข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญ ของการทำงานระบบต่างๆของร่างกาย
2. เข้าใจและตระหนัก ถึงคุณค่าของอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ
3. ตระหนักถึงพิษภัยจากสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหารและสามารถผลิตอาหารบริโภคเองได้ในครัวเรือน
4. ตระหนักถึงคุณค่าของกิจกรรมทางกายและทางใจ เพื่อให้ร่ายกายมีความสุขได้

วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Pbl plan


      




      
ปฏิทินการเรียนรู้ PBL กินดี อยู่ดี ชีวีมีสุข
Quarter 2/2557 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
สัปดาห์ที่
สาระสำคัญ
(เป้าหมายหลัก)
เนื้อหา/กิจกรรม
ภาระงาน/ชิ้นงาน
สื่อ / แหล่งเรียนรู้
1
-สร้างฉันทะ
และแรงบันดาลใจในการเรียนรู้
Key Question
- นักเรียนเห็นอะไรจากการชมคลิป วีดีโอ- นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (show and share)
- ทำไมมนุษย์แต่ละคนมีความสุขแตกต่างกัน
- นักเรียนคิดว่าเพราะเหตุใด แต่ละคนจึงมีความสุขไม่เหมือนกัน
- การกินอาหาร สำคัญกับชีวิต มนุษย์ อย่างไร
-อาหารแต่ละประเภท มีผลกับ สุขภาพตัวเราอย่างไร  เราจะเลือกกินอาหาร อย่างไร ให้มีสุขภาพที่ดี
(Round Robin)
- สร้างฉันทะและ สร้างแรงบันดาลใจ ด้วยการปะทะด้วยปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน
- ดูคลิป วีดีโอ เรื่อง ความสุขของมนุษย์
- ครูเล่าข่าวเกี่ยวกับ การใช้ชีวิตที่มีความสุข ทั้งทางกาย ทางจิตใจให้นักเรียนฟัง
- ดู คลิป วีดีโอ เกี่ยวกับ อันตรายจากสารพิษตกค้างในอาหาร
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

- สรุปสิ่งที่ได้ดูจากคลิป วีดีโอ- - สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

- คลิป วีดีโอ
- ข่าว
- บรรยากาศในชั้นเรียน
2
สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
 “จากสิ่งที่เกิดขึ้นและปัญหาที่พบ นักเรียนจะวางแผนการเรียนรู้ในQuarter นี้อย่างไร”
Key Question
- นักเรียนเห็นอะไรและ
 รู้สึกอย่างไรต่อสิ่งที่ได้ดู
- นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรใน Quarter นี้
- ทำไมถึงอยากเรียนเรื่องนี้
- นักเรียนอยากเรียนรู้อะไรบ้างในโครงงาน
กินดี อยู่ดี  ชีวีมีสุข
(show and share)

กระบวนการได้มาซึ่งหัวข้อ
- เลือกหัวข้อที่ต้องการเรียนรู้ (Think Pair Share )
- การได้มาซึ่งชื่อโครงงาน (Brain storming)
กระบวนการวางแผนการเรียนรู้
- เขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้
- เขียน Mind mapping ก่อนเรียน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

- หัวข้อที่จะเรียน
- สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
- Mind mapping ก่อนเรียน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- กระดาษ บรู๊ฟ
- สี/ปากกาเคมี
-บรรยากาศในห้องเรียน

3
- การวางแผนการเรียนรู้ตลอด 10 สัปดาห์
Key Question
- นักเรียน จะวางแผนการเรียนรู้และทำปฏิทินการเรียนรู้อย่างไร
(show and share)
- นักเรียนจะตกแต่งห้องเราให้น่าสนใจและสื่อถึงโครงงานกินดี  อยู่ดี ชีวีมีสุข ได้อย่างไร
(Brainstorming)

กระบวนการวางแผนการเรียนรู้
- ทำปฏิทินการเรียนรู้ 10 สัปดาห์
- วาดภาพตกแต่งหน้าห้องเรียน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

-  ปฏิทินการเรียนรู้ 10 สัปดาห์
-  ภาพวาดตกแต่งหน้าห้อง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษ 100ปอนด์

4
- ตัวเรา การทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกาย
Key Question
- ปัจจัยใดที่ส่งผลต่อการการทำงานที่ดี ของอวัยวะภายใน
(Show & Share)
- จะเกิดอะไรขึ้นถ้าอวัยวะต่างๆ ทำงานบกพร่อง
(Round Rubin)
- จะเกิดอะไรขึ้นถ้าอวัยวะต่างๆ หยุดทำงาน( Place mat )

- นักเรียนชมคลิปวีดีโอการทำงานของอวัยวะในร่างกาย
- แบ่งนักเรียนออกเป็น กลุ่มศึกษาการทำงานของอวัยวะภายในที่สำคัญของร่างกาย
-  นักเรียนรายงานความคืบหน้าของการทำงานและปัญหาที่พบระหว่างการลงมือปฏิบัติ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มซ้อมนำเสนอข้อมูล
- นักเรียน Show and Share นำเสนอผลงานของตนเองให้ครูและเพื่อนๆ ฟัง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

- ข้อมูลจากการค้นคว้า
- Mind mapping, การ์ตูนช่อง, โมเดล, ชาร์ตความรู้
- การนำเสนอ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

- คลิป / สารคดี
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษบรู๊ฟ

5
ชีวิตและครอบครัว
- ความสำคัญของการสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่น
-สุข อนามัยร่างกาย
-ครอบครัวมีสุข
-พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
Key Question
- ครอบครัวมีความสำคัญอย่างไร  
-การดูแลสุขอนามัยของร่างกายมีความสำคัญอย่างไร
-ควรปฏิบัติตัวอย่างไรต่อบุคคลในครอบครัว
-ทำไมต้องปฏิบัติตัวเช่นนั้น
( Show and  Share )
- พฤติกรรมแบบไหนที่เป็นอันตรายต่อการถูกล่วงละเมินทางเพศ
( Show and  Share )
-ต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อป้องกันการถูกล่วงละเมินทางเพศ
- นักเรียนดูคลิปความรักจากครอบครัว
- ครูกระตุ้นด้วยคำถามว่า การใช้ชีวิตในครอบครัวแต่ละครอบครัวแตกต่างกัน ทำไมบางครอบครัวมีความสุข  ทำไมบางครอบครัวไม่มีความสุข เพราะเหตุใด
- ครูแบ่งกลุ่มให้นักเรียนค้นคว้าเกี่ยวกับการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัวและผู้อื่น
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำข้อมูล การสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว  และผู้อื่นมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน    เพื่อนำมาออกแบบชิ้นงาน
- ครูให้นักเรียนจับคู่และค้นคว้าเกี่ยวกับ สุขอนามัยร่างกาย
- ครูให้นักเรียนจับคู่หาข่าวเกี่ยวกับ การถูกล่อลวงทางเพศ และนำเสนอเพื่อนหน้าชั้นเรียน  พฤติกรรมเสี่ยงที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์  การติดเชื้อเอดส์  และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
- นักเรียนรายงานความคืบหน้าของการทำงานและปัญหาที่พบระหว่างการลงมือปฏิบัติ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มซ้อมนำเสนอข้อมูล
- นักเรียน Show and Share นำเสนอผลงานของตนเองให้ครูและเพื่อนๆ ฟัง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

-  ข่าว
- Time line, การ์ตูนช่อง, Mind mapping
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

คลิป / สารคดี
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษบรู๊ฟ

6
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
-ความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมในรูปแบบห่วงโซ่อาหาร
-การเพิ่มขึ้นของประชากร
-ปลุกจิตสำนึกให้รักสิ่งแวดล้อม
-ผลกระทบ ภัยจากสิ่งแวดล้อม


ให้นักเรียนดูคลิป ความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
-นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นว่า สิ่งแวดล้อมกับชีวิต มีความสัมพันธ์กันอย่างไร การเพิ่มขึ้นของประชากรมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือไม่ อย่างไร
-ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มค้นคว้า เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม และผลกระทบหาสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย จะมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนได้อย่างไร
 
- นักเรียนรายงานความคืบหน้าของการทำงานและปัญหาที่พบระหว่างการลงมือปฏิบัติ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มซ้อมนำเสนอข้อมูล
- นักเรียน Show and Share นำเสนอผลงานของตนเองให้ครูและเพื่อนๆ ฟัง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

- Mind mapping
-การนำเสนอ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

- คลิป / สารคดี
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษบรู๊ฟ

7
อาหาร
- อาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
- อาหารทำลายสุขภาพ
- การผลิตอาหารที่ปลอดภัยด้วยตัวเอง
Key Question
- อาหารที่นักเรียนชอบรับประทานมีอะไรบ้าง
- อาหารแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันอย่างไร
- เราจะมีวิธีการผลิตอาหารที่ปลอดภัยรับประทานเองได้หรือไม่  ทำได้อย่างไร
-ครูให้นักเรียนดูคลิปอันตรายจากพิษภัยของอาหาร
 -ครูกระตุ้นการคิดด้วยการแบ่งกลุ่มให้นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์แยกแยะชนิดของอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และอาหารทำลายสุขภาพ
- แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มศึกษาอาหาร
ได้แก่โปรตีน คาร์โบไฮเดรต  ไขมัน แร่ธาตุ  วิตามิน และน้ำ มีความจำเป็นต่อร่างกาย  ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแต่ละชนิดมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
-ประกอบอาหารที่ปลอดภัยและมีคุณค่าสารอาหารครบ
5 หมู่
-แบ่งกลุ่ม นักเรียนปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อผลิตอาหารที่ปลอดภัย
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

- วิเคราะห์แยกแยะประเภทของอาหาร
- สรุปความรู้เกี่ยวกับสารอาหาร
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

- ข่าว / 
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
8
กิจกรรมที่ทำให้มีความสุข
  กิจกรรมทางกาย
-กีฬา
-
การละเล่น
-การเคลื่อนไหว
-กิจกรรมนันทนาการ

-ประโยชน์ของการออกกำลังกาย,การละเล่น,การเคลื่อนไหว
กิจกรรมทางใจ
--มองโลกในแง่บวก
  
-จิตสาธารณะ
-คุณธรรม           
 -ศีลธรรม
-อารมณ์ดี         
Key Question
กิจกรมที่ทำให้มนุษย์เรามีความสุขมีอะไรบ้าง
- ทำไมมนุษย์เราต้องออกกำลังกาย  ถ้าไม่ออกกำลังกายจะเป็นอย่างไร
- การออกกำลังกายมีประโยชน์อย่างไร
-นอกจากออกกำลังกายแล้วมีกิจกรรมอื่นอีกหรือไม่ ยกตัวอย่าง บอกประโยชน์ของการละเล่น
-การทำให้จิตใจ สบายผ่องใส มีประโยชน์อย่างไร  ทำได้โดย
วิธีใดบ้าง
- นักเรียนและครูร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำให้ มนุษย์เรามีความสุข กิจกรรมทางกาย  กิจกรรมทางใจ มีอะไรบ้าง
มีข้อดี  อย่างไรบ้าง
- แบ่งนักเรียนแต่ละกลุ่มเพื่อค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย กิจกรรมทางใจ พร้อมทั้งบอกประโยชน์ สรุปลงบนชาร์ตความรู้เตรียมนำเสนอ
- นำเสนอ Show and Share
- นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้จากการค้นหาข้อมูลและการฟังเกี่ยวกับกิจกรรมทางกายและกิจกรรมทางใจ ที่เพื่อนนำเสนอเป็น  Mind Mapping
- นักเรียนฝึกทำกิจกรรมทางกาย และกิจกรรมทางใจ ร่วมกันอภิปรายความรู้สึก ให้เพื่อนๆฟัง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

- สรุปสิ่งที่ได้จากการค้นคว้าเกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย
- สรุปความรู้สึกที่ได้จากการฝึกปฏิบัติ กิจกรรมทางกายและกิจกรรมทางใจ
- การนำเสนอ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
-สนามกีฬา
9
ปัญหาปัญหาการใช้ชีวิต
-ปัญหาสุขภาพ
-
ไม่มีความสุขในชีวิต
-เครียด
-การว่างงาน

-
ปัญหาครอบครัว
แนวทางในการแก้ปัญหา
-อยู่อย่างพอเพียง
-เป็นพลเมืองที่ดีชองชุมชน
-ที่พึ่งทางใจ


Key Question
- ทำไมการดำรงชีวิตของแต่ละคน จึงมีความสุขแตกต่างกัน
-สาเหตุที่ทำให้ความสุขของแต่ละคนแตกต่างกัน คืออะไร
-ปัญหาในการใช้ชีวิตมีอะไรบ้าง
- ปัญหาในการใช้ชีวิตที่นักเรียนประสบกับตัวเองมีอะไรบ้าง
- จะหาแนวทางในการแก้ปัญหาเหล่านั้นได้อย่างไร

- ให้นักเรียนแต่ละคนแสดงความคิดเห็นถึงปัญหาการใช้ชีวิตที่จะทำให้ การดำรงชีวิตไม่มีความสุข
-แบ่งกลุ่มนักเรียน ระดมความคิดโดยให้ร่วมกันหาแนวทางในการแก้ปัญหา สรุปลงบนชาร์ตความรู้เตรียมนำเสนอ
- นำเสนอ Show and Share
- สรุปความเข้าใจปัญหาการใช้ชีวิต และแนวทางแก้ไข จากการฟังเพื่อนนำเสนอเป็น Mind Mapping
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

-การนำเสนอ
-
Mind Mapping  ปัญหาในการใช้ชีวิต และแนวทางแก้ไข
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
10
สรุปโครงงาน
- การตกผลึกสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้มาทั้งหมด
- การตรวจสอบ การประเมินตนเองและผู้อื่น
Key Question
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียนโครงงาน กินดี อยู่ดี ชีวีมีสุขและจะนำเสนอผลงานให้ผู้อื่นรู้และเข้าใจได้อย่างไรบ้าง
- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมที่เรียนผ่านมาทั้งหมดในโครงงาน
กินดี อยู่ดี ชีวีมีสุข
-  นักเรียนเขียนสรุปองค์ความรู้เป็น  Mind Mapping หลังเรียน/ นำเสนอ
- นักเรียนและครูร่วมกันประเมินเพื่อสะท้อนผลงาน
-  นักเรียนระดมความคิดเขียน สิ่งที่ทำได้ดี และ สิ่งที่ควรปรับปรุง เกี่ยวกับการเรียนโครงงานเรื่อง กินดี อยู่ดี ชีวีมีสุข
- นักเรียนแบ่งกลุ่มระดมความคิดเกี่ยวกับกิจกรรมที่จะทำในวันสรุปงานสิ้น Quarter 2  
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- Mind Mapping หลังเรียน
- สิ่งที่ทำได้ดี และ สิ่งที่ควรปรับปรุง
- จัดนิทรรศการในห้องเรียน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

- บรรยากาศในห้องเรียน




























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น