เป้าหมายหลัก

1.เข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญ ของการทำงานระบบต่างๆของร่างกาย
2. เข้าใจและตระหนัก ถึงคุณค่าของอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ
3. ตระหนักถึงพิษภัยจากสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหารและสามารถผลิตอาหารบริโภคเองได้ในครัวเรือน
4. ตระหนักถึงคุณค่าของกิจกรรมทางกายและทางใจ เพื่อให้ร่ายกายมีความสุขได้

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

20 สิงหาคม 2557



กิจกรรมวันนี้ นำเสนอ ปฏิทินการเรียนรู้ Q2  เรื่องกินดีอยู่ดี ชีวีมีสุข รับคำชี้แนะจาก ครูใหญ่วิเชียร ครูต๋อยและครูภร
1. การออกแบบกิจกรรม เช่นการปลูกผักให้เริ่มตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อจะได้เรียนรู้ในระยะยาว
2. ครูควรตั้งคำถามที่ท้าทายห้เด็กๆ อภิปราย แสดงความคิด หาข้อสรุปที่เป็นทางออก
3. กิจกรรมพาเด็กไปเรียนรู้นอกสถานที่ ควรมีโจทย์ให้เด็ก ว่าจะห้เด็กไปเรียนรู้ อะไร ด้วยวิธีไหน การสอบถาม 
การสังเกต  และร่วมกันหาข้อสรุป
4. การตั้งคำถาม ควรถามเด็กให้ท้าทายเสมอ และให้เด็กมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทุกครั้ง เพราะเป็นเรื่องที่เขาสนใจ อยากรู้ เมื่อเกิดปัญหาระหว่างการเรียนรู้ ให้หาแนวทางการแก้ไข เกิดเป็นนวตกรรม
5. ในเรื่องชีวิตมีความสุข ควรให้บันทึก
ุ6. เรื่องอวัยและระบบภายใน ให้แบ่งนักเรียนไปศึกษา เป็นระบบต่างๆ และแยกอวัยวะแต่ละส่วนรวมเป็นเล่ม เป็นหนังสือเล่มเล็ก 



7. บทบาทและหน้าที่ ครอบครัว หากหากิจกรรมไม่ได้ให้สอนไปก่อน
8. เรื่องอาหาร พิษภัยอันตรายของอาหาร ควรมีกิจกรรมที่ทดลองห้เด็กเห็นได้จริง และตั้งคำถาม ว่าเห็นแล้วรู้สึกอย่างไร  คิดอย่างไร เกี่ยวข้องกับตนเองอย่างไร 


ภาคบ่ายเขียนแผน กิจกรรมจิตศึกษา 
 กิจกรรม ภาพความประทับใจ
ชั้น ประถมศึกษาปีที่
6
วัสดุ/สื่อ/อุปกรณ์   เพลงคลื่นสมองต่ำ/กระดาษ/ดินสอ
เป้าหมาย
เห็นคุณค่าของสิ่งรอบตัว  มีสมาธิจดจ่อ เชื่อโยงตนเองกับสิ่งแวดล้อม  ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดี
การดำเนินกิจกรรม

1. ให้นักเรียนนั่งเป็นรูปวงกลม  แล้วพาทำท่าเบรนยิม 1 ท่า คือ ท่านับเลข 1-10  โดยเริ่มจากให้มือซ้าย
ชูนิ้วชี้ขึ้นเป็นหนึ่ง ให้มือขวาชี้ไปที่มือซ้ายแล้วพูดว่านี่คือหนึ่ง ทำสลับข้างไปมาเมื่อสลับข้างให้ชูนิ้วตามเลขที่นับจนถึงสิบ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มกิจกรรม

2. แจกกระดาษให้นักเรียน โดยส่งต่อกัน ซึ่งก่อนที่จะรับทุกคนจะไหว้ขอบคุณเพื่อนอย่างนอบน้อม จนได้กระดาษครบ  24  คน
3. ให้นักเรียนวาดภาพ พร้อมกับเขียนบรรยายสั้นๆ เกี่ยวกับความประทับใจที่เกิดขึ้น ขณะที่ไปเดินสำรวจป่าโคกหีบร่วมกัน
4. ให้นักเรียนตั้งชื่อรูปภาพ
5. เมื่อนักเรียนตั้งชื่อรูปภาพเสร็จ ครูให้นักเรียนทุกคนนำเสนอรูปภาพว่าชื่ออะไร แล้วทำไมจึงตั้งชื่อนี้
6. ถามนักเรียนว่าชอบภาพใดมากที่สุดแล้วให้บอกเหตุผลที่ชอบภาพนั้น
บันทึกหลังกิจกรรม 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น