เป้าหมายหลัก

1.เข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญ ของการทำงานระบบต่างๆของร่างกาย
2. เข้าใจและตระหนัก ถึงคุณค่าของอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ
3. ตระหนักถึงพิษภัยจากสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหารและสามารถผลิตอาหารบริโภคเองได้ในครัวเรือน
4. ตระหนักถึงคุณค่าของกิจกรรมทางกายและทางใจ เพื่อให้ร่ายกายมีความสุขได้

วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557

17 สิงหาคม 2557



17  สิงหาคม 2557
ถอดบทเรียน  ครูแป้ง ครูแดง ครูฝน
            กิจกรรมวันนี้ ได้ทดลองทำกิจกรรมจิตศึกษา  โดยได้เรียนรู้เพิ่มเติม คือเป็น
กิจกรรมแรก
บอกชื่อผลไม้ให้เริ่มจากคนแรก บอกชื่อผลไม้ที่ตนเองชอบก่อน คนที่
2 บอกชื่อผลไม้ที่ คนแรกชอบ แล้วตามด้วยผลไม้ ที่ตนเองชอบ  คนที่ 3 บอกชื่อผลไม้ ตั้งแต่คนที่  1  คนที่ 2 และบอกของตนเอง อย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนครบ
กิจกรรมที่
2 กิจกรรมส่องกระจก ให้ จับคู่แล้ว 1 คน เป็นกระจก อีกคนเป็นคนส่องให้คนส่องกระจก ทำท่าต่างๆ ช้าๆ โดยให้มองตากัน หากรู้สึก ขำอยากหัวเราะ ให้หลับตาลง  แล้วให้คนที่เป็นกระจกทำท่าตาม  หลังจากนั้นเพิ่มความยากขึ้นโดย เป็นทีมละ 4 คนโดยทำเป็นรูป สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน คนที่อยู่ด้านหน้าสุด (คนที่มองไม่เห็นเพื่อน) เป็นกระจก ให้เพื่อน สามคนข้างหลังทำท่าตาม สามารถ หมุนตัวได้ โดยใครที่อยู่ด้านหน้าสุดจะต้องเป็นกระจกให้เพื่อนๆ ทำท่าตามเสมอ  สามารถเพิ่มความยากได้ โดยทำให้หลายๆทีม ทำไปพร้อมๆ กันโดยให้สังเกต กลุ่มข้างๆ หากหันหน้าไปทางเดียวกัน ให้ทำท่าร่วมกันได้ และ ให้ทั้งห้อง รวมเป็นกลุ่มเดียวกันและทำท่าจบที่สวยงาม
กิจกรรมที่
3  ดาราเปลี่ยนช่องวิธีเล่นใ ห้ 2 คนเป็นช่องจับมือกัน สองแขน เป็นวงรี  1คนเป็นดารา แล้วมีคนสั่ง ดารา1 คน ให้เข้าไปอยู่ในช่อง 1 คน  ดารา 2 คน อยู่ในช่อง 2 คน  หรือ ดารา 3 คน ให้ อยู่ในช่อง 3 คน  หรือ ช่อง 3 ดารา 1 ก็ให้คนเป็นช่อง จับมือกันเป็นวง 3 คน ให้ดารา 1 คน อยู่ในช่อง เปลี่ยนไปเรื่อยๆ แล้วแต่คนสั่งว่าจะให้ดารากี่คน หรือช่องกี่คน
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำจิตศึกษาคือ
- เรื่องการคิด การมีสติ ปฏิภาณ ไหวพริบ  ทักษะการฟัง
-การวางแผน การทำงานเป็นทีม กระบวนการกลุ่ม
- การเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี การมีส่วนร่วม ความมีน้ำใจ



ถอดบทเรียน การเขียนแผน กระบวนการ ชง  เชื่อม  ใช้
ขั้นชง
-เป็นการปะทะกับปัญหาที่เด็กอยากรู้  อยากเรียน โดยใช้คำถามกระตุ้นคิด การดูคลิป
- การกระตุ้นให้อยากรู้ สงสัย ครุ่นคิดอยู่กับสิ่งที่อยากรู้  การให้โจทย์ที่ท้าทาย
ขั้นเชื่อม
- เป็นการทำงาน เน้นกระบวนการกลุ่ม เมื่อเจอปัญหา รู้แล้วมาแชร์ให้เพื่อนฟัง การแลกเปลี่ยน เชื่อมโยงการเรียนรู้ของเพื่อนกับตนเองเพื่อให้ได้ความรู้ใหม่
-
 การพูดคุย  การลงมือทำ  
- ครูบอกเล่าต่อเติม ความรู้ใหม่  ได้องค์ความรู้หม่  โดยการนำเสนอด้วยวิธีต่างๆ เช่น ชาร์ท การ์ตูนช่อง  คำถาม  หรือคำตอบจากการ ตั้งประเด็น
- คำถาม เช่น เห็นอะไร  รู้สึกอย่างไร เกิดอะไรขึ้น ได้เรียนรู้อะไร

ขั้นใช้
- การทำงาน และชิ้นงานออกมา
เครื่องมือการคิด







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น