เป้าหมายหลัก

1.เข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญ ของการทำงานระบบต่างๆของร่างกาย
2. เข้าใจและตระหนัก ถึงคุณค่าของอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ
3. ตระหนักถึงพิษภัยจากสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหารและสามารถผลิตอาหารบริโภคเองได้ในครัวเรือน
4. ตระหนักถึงคุณค่าของกิจกรรมทางกายและทางใจ เพื่อให้ร่ายกายมีความสุขได้

วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

29 สิงหาคม 2557

อบรมการวัดผลและประเมินผล

         เป็นการเริ่มต้นที่ดี และมีความหมายที่ สพฐ.จัดให้มีการพัฒนาครูทั้งระบบนเรื่องของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนโดย ภาคเหนือได้จัดการอบรมขึ้นที่ จ.เชียงใหม่ ในครั้งนี้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเด็กไทยให้ก้าวไกลทัดเทียมกับนานา ประเทศ โดยในวันนี้ คณะทีมวิทยากรได้กล่าวถึงการศึกษาในศตวรรษที่ 21โดยได้ยกตัวอย่างหลายๆโรงเรียนในประเทศไทย อาทิ โรงเรียนสัตยาสัย  โรงเรียนรุ่งอรุณ และโรงเรียนนอกกะลา อีกทั้งยังกล่าวครูใหญ่ วิเชียร ไชยบัง ของเราอีกด้วย


ในปัจจุบันนั้นความรู้มีอยู่มากมาย หลากหลายแห่งอีกทั้งการเข้าถึงก็ง่าย แต่การที่ให้เด็ฏมีความรู้เพียงอย่างเดียวนั้นจะทำให้การศึกษาไทย ล้มเหลวทั้งประเทศ ควรจะมีการปฏิรูปการจัดการศึกษาทั้งระบบ กล่าวคือ

          การเรียนรู้และทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษ ที่ 21 ( 21 century skills) ประกอบด้วย
1.การจัดการเรียนการสอน  โดยยึดว่าผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญ ควรส่งเสริมห้ผู้เรียนพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
2. จัดสาระการเรียนรู้ โดยเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการให้เหมาะสมกับระดับ กล่าวคือ
     1. รู้เกี่ยวกับตนเอง ความสัมพันธ์กับตนเองและสังคม ได้แก่ ครอบบครัว ชุมชน ชาติ สังคมโลก รวมทั้งประวัติศาสตร ความเป็นมาของสังคมไทย
    2. ความรู้และทักษะ  ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุล ยั่งยืน
     3. ความรู้เกี่ยวกับ  ศาสนา  ศิลปะ วัฒนธรรม  การกีฬา ภูมิปัญญาไทย การประยกต์ใช้ภูมิปัญญา
     4. ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ ภาษา เน้นการช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง
     5. ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
3. การจัดเนื้อหาสาระ  ให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน และความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงภึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
4. ฝึกทักษะ  กระบวนการคิด  การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้ มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา
5. จัดกิจกรรม ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
6. การจัดการเรียนการสอน โดยผสมผสานระหว่างสาระความรู้ต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งคุณธรรมจริยธรรม และคุณลักณะอันพึงประสงค์
7.  จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน อำนวนความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัย เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ ผู้เรียนผู้สอนสามารถเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน
8. จัดการเรียนรู้ ให้เกิดได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีความประสานความร่วมมือกับบิดา มารดาผู้ปกครอง และบุคลากรในชุชม ทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาการเรียน ตามศักยภาพ
9. จัดการประเมินผู้เรียน โดยพิจารณาพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ สังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม และทดสอบควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอน ตามความเหมาะสมของแต่ละรูปแบบการศึกษา
10.  จัดทำสาระ ของหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาชุมชน และสังคมภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียน เป็นสมาชิกที่ดีของชุมชนและสังคม โดยต้องมีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความรับผิดชอบต่อสังคม
11. ร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน หน่วยงานต่างๆ ร่วมกันสรรหาภูมิปัญญาต่างๆเพื่อให้สอดคล้องกับปัญหา และหาวิธีสนับสนุนให้มรการแลกเปลี่ยนการพัฒนาระหว่างชุมชน
12. พัฒนากระบวนการเรียนการสอน  ที่มีประสิทธิภาพ และการดำเนินการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน แต่ละระดับการศึกษา
13. พัฒนาขีดความสามารถ นการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของผู้เรียน เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
14  ปฏิบัติงาน  และประพฤติปฏิบัติตนตามมาตรฐาน และจรรยาบรรณของวิชาชีพครู 






วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

28 สิงหาคม 2557

      วันนี้มีโอกาสเข้าร่วมงาน นิทรรศการทางวิชาการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ Exhibition academic symposium best practice ระดับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต2 โดยแต่ละโรงเรียนมีการจัดการนำเสนอที่ดีมาก ทั้งผู้บริหาร  ครู  และศึกษานิเทศ จากการเดินเยี่ยมชม สนทนากับเด็ก ครู และผู้บริหาร และผลงานที่แสดงออกมาอย่างยอดเยี่ยมในงาน  แสดงให้เห็นว่า ครูไทยของเรา และผู้บริหาร ไม่ได้ด้อยเลย  แต่จากการสอบถามนักเรียน ที่นำเสนองาน ความรู้สึกที่ได้รับ รู้สึกว่าสิ่งที่นักเรียนทำยังไม่ได้ผ่านกระบวนการ คิด และลงมือปฏิบัติด้วยตัวนักเรียนเองซักเท่าไร นักเรียนยังไม่มีโอกาสได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ ซักเท่าไร  สิ่งที่นักเรียนทำ ยังเป็นความคิดของผู้ใหญ่  ของครูและทำตามความต้องการของผู้บริหารอยู่ แล้วให้นักเรียนมาเป็นผู้นำเสนอผลงาน โดยการจำและท่องสคริป  ซึ่งดูแล้วยังไม่เป็นไปตามธรรมชาติ หากครูเรามีการปรับเปลี่ยนวิธีคิด ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการคิด  และการลงมือทำ โดยมีครูเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ คงแสดงให้เห็นความสามารถทั้งทางด้านความรู้ ด้านทักษะ และกระบวนการ ด้วยความเข้าใจ  ผ่านการคิด การพูด และนำเสนอด้วยความมั่นใจ และชัดเจน  เด็กไทยคงไม่แพ้ชาติใดในโลกอย่างแน่นอน



26 สิงหาคม 2557

26  สิงหาคม 2557
อะไรบ้างที่จะนำกลับไปปรับใช้ อย่างไร
@ กิจกรรมจิตศึกษา กิจกรรม Body Scan จะนำกลับไปใช้ เตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียน เพื่อสอน นำไปใช้กับคณะครูก่อน Plc เพื่อให้ครูได้เข้าใจและนำไปใช้จัดกิจกรรมให้กับนักเรียน
@ การจัดกิจกรรมการสอน PBL  นำไปใช้สอน ในทุกระดับชั้น ระดมสมองคณะครู ร่วมทำแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ร่วมกัน
@ เทคนิคการเตรียมความพร้อมให้เด็ก  การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนให้น่าเรียนรู้  การมีน้ำเสียงที่เป็นมิตร ไม่คุกคาม การให้การเสริมแรงทางบวก ถามบ่อยๆ ถึงแม้จะไม่ได้คำตอบที่ถูกต้อง ก็ ควรถามให้เยอะเพื่อกระตุ้นการคิด และการสื่อสาร  การไม่ด่วนสรุปว่าเด็กรู้ไม่รู้ ใจเย็น ควรใช้เวลา กลั่นกรองให้มาก  นำเทคนิคเหล่านี้แลกเปลี่ยนให้คณะครู นำไปใช้จริง
@ วิถีปฏิบัติ ที่ยั่งยืนและสม่ำเสมอ หาคนร่วมแนวคิด ลงมือทำไปพร้อมๆกัน
@ การให้การเสริมแรงทางบวก ให้กำลังใจแก่คณะครู หาแนวทางในการแก้ไขร่วมกันเมื่อ เกิดปัญหา

สิ่งที่อยากพัฒนาเพิ่มเติม/คำถาม
@ ทักษะการตั้งคำถาม เทคนิคการนำกระบวนการคิด ต่างๆ ลงสู่กิจกรรมการเรียน ในขั้นตอน
 ชง เชื่อม ใช้
@ เทคนิคการนำกิจกรรมแบบ Active learning ลงสู่การใช้จริงอย่างเป็นรูปธรรม โดยไม่มีกระบวนการที่ซับซ้อน และได้ผลจริง




http://youtu.be/I0rDGp8aXcA



วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

25 สิงหาคม 2557



สิ่งที่ได้เรียนรู้วันนี้
                   ได้เข้าใจเกี่ยวกับ กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน PBL สิ่งที่สอนเด็กเพื่ออะไร?
ผลลัพท์ที่ได้ควรจะเป็น
#  ชิ้นงานของเด็กแสดงถึงแก่นความเข้าใจหรือไม่
ชิ้นงานแสดงถึงการคิด logic และ การคิดสร้างสรรค์
#  การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
·       เทคนิค การตั้งคำถามของครู ให้เป็นคำถามกระตุ้นคิด ถึงแม้จะได้คำตอบที่ไม่ถูกต้อง แต่การ เชื่อมโยงสิ่งที่พูดในชั้นเรียนทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และความเข้าใจในห้องเรียน
·       การออกแบบกิจกรรม โดยใช้รูปแบบ Active learning  เพื่อให้เด็กได้ เรียนรู้  เข้าใจและมีทักษะในการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
·       กระบวนการเปิด นั่งล้อมวง แสดงความคิดเห็น ฟังซึ่งกันและกัน โดยไม่มีคำตอบที่ผิดและถูก คำที่สำคัญ เมื่อเด็กพูดแสดงความคิดเห็น ครูจะขอฟังอีกครั้ง เพื่อเน้นย้ำสิ่งที่สำคัญ


                                      เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์
         
 การสร้างความรู้สึกเชิงจำนวน โดยให้เด็ก เห็นจำนวนอย่างเป็นระบบ สร้างภาพในสมองเพื่อให้เกิดความรู้สึกเชิงจำนวน โดยผ่านกิจกรรม เช่น เกม  การลงมือปฏิบัติ จะทำให้เด็กเข้าใจ ในการเรียนเกี่ยวกับจำนวน ตัวเลขมากยิ่งขึ้น โดยสื่อที่ใช้เพื่อให้เด็ก เกิดการเรียนรู้ควรมีกระบวนการขั้นตอนในการจัดกิจกรรมคือ เริ่มจากสื่อจริงก่อน  การเชื่อมโยงรูปภาพ  แล้วถึงมาสรุปเป็นสัญลักษณ์  การเรียนการสอนการบวก หรือลบ ยังไม่ใช้ควรเครื่องหมาย ควรทำให้เด็กเข้าใจว่าเพิ่มขึ้น  ได้มา  หักออก  หรือลบออก เมื่อเข้าใจแล้วค่อยขยับขึ้นมาเป็นสัญลักษณ์ และควรจะใช้เหตุการณ์ในชีวิตจริง ควรมีที่มาของตัวเลข เช่น มีคนในห้อง จำนวน กี่คน  มีแขนกี่แขน ซึ่งจะทำให้เด็กคิดได้มากมายหลากหลายวิธี แล้วนำมาแชร์กัน เพื่อนๆ ก็จะได้เรียนรู้วิธี ใหม่ๆอีกด้วย ซึ่งการสอนคณิตศาสตร์  มีเป้าหมายที่สำคัญกว่าการได้มาซึ่งคำตอบคือ
            - รู้คำตอบเอง
            - เห็นรูปแบบ
            - การสื่อสาร
            - การมองเห็นภาพ
            - การเชื่อมโยงการคิดสร้างสรรค์
            - การแก้ปัญหา


วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557

24 สิงหาคม 2557

ถอดบทเรียน ครูนี ครูน้ำผึ้ง
     กิจกรรมจิตศึกษา ครูกุ้งทดลองพาคณะครูทำจิตศึกษา ระดับชั้นอนุบาล โดยใช้ถ้วยเทียนส่น้ำ ประกอบการเล่านิทานในเรื่องที่เหมาะกับระดับชั้น อนุบาล เรื่องของการมอบความรัก ให้กับทุกสรรพสิ่งที่อยู่ในโลกนี้ ว่าอยากมอบความรักให้กับใคร หลังจากนั้นให้เชื่อมโยงกับการใช้ชีวิต อยู่ในโรงเรียนลำปลายมาศ ของคณะครูตลอดระยะเวลา 3 สัปดาห์ ให้แสดงความรู้สึก ว่ารู้สึกอย่างไร ส่งมอบความรักให้แก่กันผ่านคำพูด หรือการกอด การสัมผัสทางกาย ทำให้ครูหลายๆ คนรู้สึกทราบซึ้ง และรู้สึกถึงคุณค่าในการมาใช้ชีวิตร่วมกันที่นี่







   กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการสื่อสาร โดยนำ เลโก มาต่อ  2 นั่งหันหลังให้กัน โดยให้ 1 คนพูด และต่อ ให้เพื่อนฟังและทำตาม ตามที่เพื่อนบอก กิจกรรมนี้ ทำให้ได้ฝึกการสื่อสาร  การฟัง  การพูด การจีความ  ความชัดเจนของสาร




             ช่วงบ่าย ถอดบทเรียนกับครูอ้อน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดสัปดาห์ สรุปใจความสำคัญได้ว่า การจะสร้างการศึกษา ให้สำเร็จ ต้องร่วมมือกับทุกฝ่าย ทั้งครู ผู้ปกครอง ชุมชน ต้องมีการสื่อสารให้เข้าจนทิศทางเดียวกัน ทำบ่อยๆ สม่ำเสมอ  การลงมือทำ ทำให้ให้เด็กเกิดเรียนรู้ได้มากกว่าการสอน การร่วมใจ การถ่ายทอด สอบถามทุกสุขกัน ในบรรยากาศที่เป็นกันเอง เติมความสุขใจ ให้กันเพื่อสร้างพลังในการทำงานที่ดี

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

21 สิงหาคม 2557



กิจกรรม  โยคะ
ชั้น ป.
6
วัสดุ/สื่อ/อุปกรณ์ เพลง พัฒนาคลื่นสมอง
เป้าหมาย ฝึกสติ  ลมหายใจ การควบคุมอารมณ์ได้ดี  การประสานกับความเข้าใจในธรรมชาติ
การดำเนินกิจกรรม
1. เตรียมความพร้อม นั่งเป็นวงกลม เมื่อ พี่ ป.6  พร้อมแล้วนั่งเป็นวงกลมเราจะทำกิจกรรม ร่วมกันที่มีความหมาย เตรียมความพร้อมให้ร่างกาย เพื่อทำกิจกรรมดีๆ ในวันที่มีความหมาย
2. สอบถามความคิดเห็นอย่างไร กับการทำโยคะ มีประโยชน์กับเราอย่างไร
3.
เล่าถึงกิจกรรมโยคะ กิจกรรมโยคะ เป็นกิจกรรม การฝึกโยคะเป็นการดูแลสุขภาพอีกรูปแบบ นอกจากจะเป็นผลดีต่อร่างกายและจิตใจแล้ว ยังมีผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ และอวัยวะต่าง ๆ ที่อยู่ภายในร่างกายอีกด้วย นอกจากนั้นยังช่วยให้ข้อต่อต่าง ๆ ทั่วร่างกายเคลื่อนไหวได้ดี ไม่เกิดการติดขัดสามารถชะลอความเสื่อมของข้อต่อได้ สำหรับด้านจิตใจ การฝึกโยคะช่วยให้ผ่อนคลาย หายเครียด เพราะการปฏิบัติท่าต่าง ๆ จะเน้นการฝึกจิตให้จดจ่อกับการหายใจเข้าออก
4. เริ่มต้นที่ท่า ยืดกล้ามเนื้อส่วนขาและน่อง โดยเหยียดเท้าไปข้างหน้า  ค่อยๆ ก้มตัวลงช้าๆ ให้ลำตัวยืดมากที่ สุด นับ จำนวนห้าลมหายใจ จากนั้น เหยียดขาไปข้างหน้า พับขาเข้าด้านใน 1 ข้าง ก้มตัวยืด ค้างไว้ นับ 5 ลมหายใจ ทำสลับข้างกันทั้ง 2 ข้าง
5.  ต่อด้วยท่าต้นไม้ ยืนขึ้น ยกเท้าซ้าย วางไว้บนขาด้านในของข้อพับเข่าวาดฝ่ามือขึ้นด้านบน ประกบกันสองข้าง ค้างไว้ หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกช้าๆนับ 3 ลมหายใจ
6. นั่งคุกเข่าลง ทำท่าสัญลักษณ์ แห่งโยคะ กำนิ้วมือทั้งสองข้าง จากนั้นวางมือไว้บริเวณเส้นเลือดใหญ่ ที่ขาหนีบก้มตัวลงไป ให้หน้าผากแตะพื้นค้างไว้ 5 ลมหายใจ
7.  ท่ากลับบนลงล่าง  เริ่มด้วยนอนหงาย ยกขาขึ้นช้าๆ ยกลำตัวขึ้น ช้าๆ ใช้มือจับสะโพกไว้ เอียงขาทำมุมประ 70 องศา ค้างไว้ 5 ลมหายใจ กลับอยู่ในท่าเดิมค่อยๆ หย่อนลำตัวลง วางขาลงในแนวราบ นอนท่าศพ พัก สักครู่ แล้วกลับทำท่า อีกครั้งหนึ่ง
บันทึกหลังการจัดกิจกรรม
 เด็กตื่นเต้นกับการทำท่าใหม่ ทำให้อาจมีเสียงดังบ้าง ขาดความสงบ ทำให้ไม่ได้ฝึกสติ  วิธีแก้ไข พาเด็กมาอยู่กับตัวเองอีกครั้ง โดยให้เหตุผลว่าการฝึกโยคะ เราจะใช้สมาธิ ในการทำกิจกรรม เพื่อเป็นการฝึกลมหายใจ ห้ร่างกายได้ผ่อนคลาย  จึงทำให้เด็กเห็นคุณค่าและตั้งใจมากยิ่งขึ้น





20 สิงหาคม 2557



กิจกรรมวันนี้ นำเสนอ ปฏิทินการเรียนรู้ Q2  เรื่องกินดีอยู่ดี ชีวีมีสุข รับคำชี้แนะจาก ครูใหญ่วิเชียร ครูต๋อยและครูภร
1. การออกแบบกิจกรรม เช่นการปลูกผักให้เริ่มตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อจะได้เรียนรู้ในระยะยาว
2. ครูควรตั้งคำถามที่ท้าทายห้เด็กๆ อภิปราย แสดงความคิด หาข้อสรุปที่เป็นทางออก
3. กิจกรรมพาเด็กไปเรียนรู้นอกสถานที่ ควรมีโจทย์ให้เด็ก ว่าจะห้เด็กไปเรียนรู้ อะไร ด้วยวิธีไหน การสอบถาม 
การสังเกต  และร่วมกันหาข้อสรุป
4. การตั้งคำถาม ควรถามเด็กให้ท้าทายเสมอ และให้เด็กมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทุกครั้ง เพราะเป็นเรื่องที่เขาสนใจ อยากรู้ เมื่อเกิดปัญหาระหว่างการเรียนรู้ ให้หาแนวทางการแก้ไข เกิดเป็นนวตกรรม
5. ในเรื่องชีวิตมีความสุข ควรให้บันทึก
ุ6. เรื่องอวัยและระบบภายใน ให้แบ่งนักเรียนไปศึกษา เป็นระบบต่างๆ และแยกอวัยวะแต่ละส่วนรวมเป็นเล่ม เป็นหนังสือเล่มเล็ก 



7. บทบาทและหน้าที่ ครอบครัว หากหากิจกรรมไม่ได้ให้สอนไปก่อน
8. เรื่องอาหาร พิษภัยอันตรายของอาหาร ควรมีกิจกรรมที่ทดลองห้เด็กเห็นได้จริง และตั้งคำถาม ว่าเห็นแล้วรู้สึกอย่างไร  คิดอย่างไร เกี่ยวข้องกับตนเองอย่างไร 


ภาคบ่ายเขียนแผน กิจกรรมจิตศึกษา 
 กิจกรรม ภาพความประทับใจ
ชั้น ประถมศึกษาปีที่
6
วัสดุ/สื่อ/อุปกรณ์   เพลงคลื่นสมองต่ำ/กระดาษ/ดินสอ
เป้าหมาย
เห็นคุณค่าของสิ่งรอบตัว  มีสมาธิจดจ่อ เชื่อโยงตนเองกับสิ่งแวดล้อม  ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดี
การดำเนินกิจกรรม

1. ให้นักเรียนนั่งเป็นรูปวงกลม  แล้วพาทำท่าเบรนยิม 1 ท่า คือ ท่านับเลข 1-10  โดยเริ่มจากให้มือซ้าย
ชูนิ้วชี้ขึ้นเป็นหนึ่ง ให้มือขวาชี้ไปที่มือซ้ายแล้วพูดว่านี่คือหนึ่ง ทำสลับข้างไปมาเมื่อสลับข้างให้ชูนิ้วตามเลขที่นับจนถึงสิบ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มกิจกรรม

2. แจกกระดาษให้นักเรียน โดยส่งต่อกัน ซึ่งก่อนที่จะรับทุกคนจะไหว้ขอบคุณเพื่อนอย่างนอบน้อม จนได้กระดาษครบ  24  คน
3. ให้นักเรียนวาดภาพ พร้อมกับเขียนบรรยายสั้นๆ เกี่ยวกับความประทับใจที่เกิดขึ้น ขณะที่ไปเดินสำรวจป่าโคกหีบร่วมกัน
4. ให้นักเรียนตั้งชื่อรูปภาพ
5. เมื่อนักเรียนตั้งชื่อรูปภาพเสร็จ ครูให้นักเรียนทุกคนนำเสนอรูปภาพว่าชื่ออะไร แล้วทำไมจึงตั้งชื่อนี้
6. ถามนักเรียนว่าชอบภาพใดมากที่สุดแล้วให้บอกเหตุผลที่ชอบภาพนั้น
บันทึกหลังกิจกรรม